หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

เครือข่ายวิจัยประชาชื่น จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2552 เป็นการรวมตัวของหน่วยงาน วิจัยมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

  1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  6. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  7. มหาวิทยาลัยรังสิต
  8. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  9. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  10. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  11. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  12. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  13. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  14. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  15. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  16. วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีเครือข่ายการวิจัยในการสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถาบันในการแลกเปลี่ยนข่าวสารการวิจัย การทากิจกรรมงานวิจัยร่วมกัน และเผยแพร่ผลการวิจัยเพื่อนาไปสู่การใช้ประโยชน์ในสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เครือข่ายประชาชื่น จึงจัดประชุมวิชาการ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัย (ประชาชื่น) ครั้งที่ 2 ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยในเครือข่ายประชาชื่นและนอกเครือข่าย

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของ อาจารย์และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายประชาชื่น
  2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของบุคคลผู้สนใจจากภายนอกเครือข่ายประชาชื่น
  3. เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือข่ายประชาชื่น และระหว่างสถาบันอุดมศึกษานอกเครือข่ายประชาชื่น

 

รูปแบบการจัดงาน

รูปแบบการจัดงาน มีการเสวนาทางวิชาการ/ปาฐกถาพิเศษ การนาเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย และโปสเตอร์ ผลงานวิจัยที่มีผลงานดีจะได้รับการคัดเลือกลงวารสารของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายประชาชื่น งานวิจัยที่นาเสนอ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มที่ 2 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • กลุ่มที่ 3 ด้านการศึกษา

 

วันเวลาและสถานที่จัดงาน

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตพระรามเก้า

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดร่วมกับเครือข่ายวิจัยประชาชื่น

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คณาจารย์และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายวิจัยประชาชื่น ได้เผยแพร่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์กับสังคม
  2. เกิดเครือข่ายนักวิจัยที่จะทางานเชิงบูรณาการร่วมกัน