ข้อมูลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประจำปีงบประมาณ 2566

ข้อมูลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประจำปีงบประมาณ 2566

         การส่งเสริมศักยภาพอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2565 - 2584) ยุทธศาสตร์ที่ 2สร้างความเป็นเลิศทางด้านการวิจัย นวัตกรรมใช้เองสู่เชิงพาณิชย์ ตอบสนองความต้องการของชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป้าประสงค์ที่ 2 สร้างงานวิจัย นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน สังคม มุ่งสู่การเป็นผู้นำ ในการบริการวิชาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับการหาแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมงานวิจัยภายใต้การกำกับของรองอธิการบดี

         สถาบันวิจัยและพัฒนามีพันธกิจหลักในการบริหารจัดการงานวิจัย งานบริการวิชาการ งาน Enterprise Linkage Center และงานศูนย์บริการวิชาการเชิงพาณิชย์ ซึ่งงานบริหารงานวิจัยจะดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์แหล่งทุนวิจัยและส่งเสริมการขอรับทุนจากแหล่งทุนสนับสนุนต่าง ๆ อาทิ ทุน Fundamental Fund และ Strategy Fund ที่มีแหล่งทุน PMU ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก สกสว. และแหล่งทุนสนับสนุนการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ Pre -Talent, Talent Mobility ทุนวิจัยระยะสั้น ทุนวิจัยร่วมกับต่างประเทศ ภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สปอว.) และทุนภายในของมหาวิทยาลัยจากกองทุนส่งเสริมงานวิจัย

ปีงบประมาณ 2566 มหาวิทยาลัยได้รรับการสนับสนุนงบประมาณงานวิจัยและนวัตกรรมจากแหล่งทุนภายในและภายนอก ดังนี้

ลำดับ

แหล่งทุน

จำนวนโครงการ

งบประมาณ

1

กองทุนส่งเสริมงานวิจัยของมหาวิทยาลัย

50

2,872,676

2

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

30

4,677,000

3

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

4

4,100,150

4

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

2

9,066,581.50

5

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

20

8,564,000

รวม

106

29,280,407.50

        
มหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมจากงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก จำนวน  18  ผลงาน ดังนี้

ลำดับที่

ชื่อผลงาน

ประเภท

1

สูตรขนมหม้อแกงที่มีพลังงานต่ำจากส่วนผสมสารสกัดจากหญ้าหวานและกรรมวิธีการผลิต

อนุสิทธิบัตร

2

สูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นมกล้วยน้ำว้าผงด้วยวิธีการทำแห้งแบบโฟม-แมท

อนุสิทธิบัตร

3

สูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารปลาจากกล้วยน้ำว้า

อนุสิทธิบัตร

4

สูตรและผลิตภัณฑ์เจลต้านสิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรกะเม็งทั้ง 5 และกรรมวิธีการผลิต

อนุสิทธิบัตร

5

กรรมวิธีการผลิตอิฐก่อสร้างสามัญแบบไม่ต้องเผาด้วยวัสดุพอลิเมอร์จากน้ำยางธรรมชาติ

อนุสิทธิบัตร

6

สูตรผลิตภัณฑ์เจลบรรเทาอาการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบมะดาดและสารสกัดว่านหางจระเข้

อนุสิทธิบัตร

7

สูตรและกรรมวิธีการผลิตอิฐสำหรับปูสวนทางเดิน

อนุสิทธิบัตร

8

สูตรเครื่องดื่มเอนโทไซยานินจากปลายข้าวไรซ์เบอรี่และกรรมวิธีการผลิต

อนุสิทธิบัตร

9

หุ่นยนต์ปลูกต้นกล้าอัตโนมัติ

อนุสิทธิบัตร

10

เครื่องตรวจวัดความสุกของมะนาวด้วยเทคนิคการประมาลผลภาพ

อนุสิทธิบัตร

11

อาหารเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทองสูตรมังสวิรัติ

อนุสิทธิบัตร

12

เครื่องปอกเปลือกไข่นกกระทาต้มสุกแบบกึ่งอัตโนมัติ

อนุสิทธิบัตร

13

บล็อกประสานปูพื้นผสมเศษอิฐมวลเบา

อนุสิทธิบัตร

14

เครื่องออกเสียงประสมคำนำอ่านภาษาไทย

อนุสิทธิบัตร

15

ชุดอุปกรณ์เสริมในการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกบนลานตากข้าวแบบพ่วงข้าง

สิทธิบัตร

16

เอกสารประกอบการบรรยายระยะสั้น 3 ชั่วโมง การใช้โปรแกรม Microsoft Project สำหรับวางแผนงานก่อสร้าง

ลิขสิทธิ์

17

การผลิตฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียของโรงงานกระดาษเพื่อใช้ในการผลิตสารเคลือบแผ่นโซล่าเซลล์

สิทธิบัตร

18

ขั้วไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะบนพื้นผิวคอนกรีตสำหรับการตรวจการแทรกซึมของคลอไรด์เข้าสู่โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

อนุสิทธิบัตร

 

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.ข้อมูลสถิติบทความวิชาการ บทความวิจัย ผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติหรือระดับชาติ

2.ข้อมูลสถิติการสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญาอื่น หรืองานสร้างสรรค์อื่น

 

2.ข้อมูลสถิติการสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญาอื่น หรืองานสร้างสรรค์อื่น

 

3. ข้อมูลสถิติการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณะเพื่อการศึกษาต่อยอด

 

4.ข้อมูลสถิติการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นหรือชุมชน

 





เอกสารแนบ : cf20231228132840.pdf



753 ครั้ง

Address
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อาคารบูรณมงคล (อาคาร 32) ชั้น 8
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย
(กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
035-709-097 หรือ 097-270-8866

ช่องทางการติดต่อ
rdi@rmutsb.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทรส.
rdi.rmutsb
rdi.rmutsb
LINE ID : @404unano

Copyright ©2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ