เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ยากอย่างที่คิด❓

เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ยากอย่างที่คิด❓

 

ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร?

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งจะเน้นในสิ่งที่ได้จากสติปัญญาและความชำนาญโดยไม่จำกัดการสร้างสรรค์ อาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่าง ๆ หรือสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ หรือกระบวนการต่าง ๆ

 

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (Copyright) และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม(Industrial Property) ดังนี้

 


1.ลิขสิทธิ์ (Copyright)
เจ้าของลิขสิทธิ์จะทำอะไรก็ได้กับงานท่าร้างสรรค์ขึ้น โดยแบ่งประเภทของลิขสิทธิ์ได้ ดังนี้

1.1 วรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)

1.2 นาฏกรรม

1.3 ศิลปกรรม

1.4 ดนตรีกรรม

1.5 โสตทัศนวัสดุ

1.6 ภาพยนตร์

1.7 สิ่งบันทึกเสียง

1.8 งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

1.9 งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ข้อควรรู้: ลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ได้ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ วิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

 

2.ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของเราที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น เช่น กระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งออกได้ดังนี้


สิทธิบัตร (Patent) เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

            - สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent)

            - อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)

            - สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent)

แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Design of Integrated Circuits) หมายถึง แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า (Trademark) เป็นเครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตรา ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

- เครื่องหมายการค้า (Trademark)

- เครื่องหมายบริการ (Service Mark)

- เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark)

- เครื่องหมายร่วม (Collective Mark)


ความลับทางการค้า (Trade Secret)
คือข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับและมีการทำให้ข้อมูลนั้นถูกปกปิดเป็นความลับ เช่น สูตรของ Coke


ชื่อทางการค้า (Trade Name)
เป็นชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ครัวคุณต๋อย ธนาคารกรุงไทย เที่ยวทั่วไทย เป็นต้น


สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
คือ สัญลักษณ์ หรือสิ่งที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง หรือมีคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ๆ เช่น ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ส้มโอนครชัยศรี ไข่เค็มไชยา เป็นต้น

การเข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับในโลกธุรกิจและการศึกษาในยุคปัจจุบัน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสำคัญในการปกป้องผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และความคิดสร้างสรรค์ของทุกคน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถรักษาสิทธิในผลงานของตนเองได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิของผู้อื่น นอกจากนี้ทรัพย์สินทางปัญญายังเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ๆ และผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในทุกภาคส่วนของสังคมอีกด้วย

 

ผู้เขียน   นางสาวพิชญาดา วรวาท

            หน่วยทรัพย์สินทางปัญญา (TLO)

            งาน Enterprise Linkage Center

            สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

 

ข้อมูล:   กรมทรัพย์สินทางปัญญา







253 ครั้ง

Address
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อาคารบูรณมงคล (อาคาร 32) ชั้น 8
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย
(กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
035-709-097 หรือ 097-270-8866

ช่องทางการติดต่อ
rdi@rmutsb.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทรส.
rdi.rmutsb
rdi.rmutsb
LINE ID : @404unano

Copyright ©2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ