การพัฒนาทักษะการเขียนคำขอ สิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร สู่การเป็นนักบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา

📣📣 การพัฒนาทักษะการเขียนคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรสู่การเป็นนักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 📣📣

📝📝 การมีทักษะในการเขียนยกร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรที่ดีจะช่วยเตรียมความพร้อม เพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยการปกป้องสิทธิและสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย และเพื่อบ่มเพาะพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ด้านการเขียนร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรเพิ่มขึ้น อันนำไปสู่การยื่นขอจดทะเบียนรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย และการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
สู่เชิงพาณิชย์

📝📝 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิมีการยื่นจดคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรค่อนข้างน้อย เนื่องจากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยไม่มีทักษะ องค์ความรู้กระบวนการขั้นตอนทางด้านการเขียนยกร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร หรือผลงานทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นๆ การร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนด มักมีการแก้ไข จึงส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการยื่นจดคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

📌📌 วิธีการดำเนินงาน 📌📌

  1. บรรยายให้ความรู้กับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ Coaching (การสอนงาน)
    ซึ่งมีหัวข้อดังนี้

    1.1 บรรยายกระบวนการและขั้นตอนการยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

  • บรรยาย/Workshop (Group Work) : การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา

     - เทคนิคการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร (Patent Search)

     - ระบบการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลสิทธิบัตร

  1. Workshop (Group Work) : แนวทางการนำข้อมูลการสืบค้นทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในการเขียนยกร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร และการเตรียมคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ Lesson Learned (การเรียนรู้
    จากบทเรียนที่ผ่านมา)
    และ Action Learning (การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ) ซึ่งมีหัวข้อดังนี้

    2.1 การเขียนยกร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร แบ่งออกเป็นสาขาดังนี้

                  - สาขาวิศวกรรม/ไฟฟ้า/ฟิสิกส์

                  - สาขาเคมี/ปิโตรเคมี

                  - สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

                  - สาขาเทคโนโลยีอาหาร

                  - สาขาอื่น ๆ

  1. สรุปประเด็นแนวทางการเขียนยกร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ After Action Review (การทบทวนสรุปบทเรียน)
  2. ติดตามผลการดำเนินงานและจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาวิธีการดำเนินงานต่อไป

📣📣 การพัฒนาทักษะการเขียนคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรสู่การเป็นนักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 📣📣

การพัฒนาทักษะการเขียนคำขอ สิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร สู่การเป็นนักบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา



Tag : ##สิทธิบัตรการประดิษฐ์ #อนุสิทธิบัตร #ทรัพย์สินทางปัญญา #Coaching #Patent Search



ข้อมูลจาก : นางสาวพรรษชล พานิจจะ จัดทำโดย นางสาวพิมพ์ชนก เพิงสงเคราะห์


19755 ครั้ง

Address
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อาคารบูรณมงคล (อาคาร 32) ชั้น 8
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย
(กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
035-709-097 หรือ 097-270-8866

ช่องทางการติดต่อ
rdi@rmutsb.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทรส.
rdi.rmutsb
rdi.rmutsb
LINE ID : @404unano

Copyright ©2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ