เครื่องกรีดมะขามป้อมด้วยกลไกข้อเหวี่ยง

เครื่องกรีดมะขามป้อมด้วยกลไกข้อเหวี่ยง

การทำให้ผลมะขามป้อมมีรอยแบบเดิมนั้นใช้วิธีการสร้างรอยด้วยมีดแบบใช้แรงงานคน ดังรูปที่ 2 โดยการใช้มีดกดลงบนผลของมะขามป้อมดองให้มีรอยประมาณ 5–6 รอย ในเวลา 1 นาที สามารถกรีดได้เฉลี่ย 15 ผลต่อคน ทำให้ใช้เวลาเฉลี่ย 4-6 นาที เพื่อได้วัตถุดิบที่เตรียมพร้อมในการแช่อิ่มประมาณ 1 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งมีปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น สามารถผลิตได้ไม่ทันต่อวัตถุดิบที่มีคราวละมาก ๆ แรงงานหายากและมีแรงงานเฉพาะผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เกิดอุบัติเหตุมีดบาดบ่อยครั้งและก่อให้การผลิตขาดความเป็นมาตรฐาน เกิดความเมื่อยล้าและอาการนิ้วล๊อก ปัญหา ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องจักรที่สามารถลดจำนวนแรงงาน ประหยัดพลังงาน เพิ่มผลผลิต มีความปลอดภัย ลดการปนเปื้อนจากการติดเชื้อ และถูกสุขลักษณะ

การกรีดโดยใส่มะขามป้อมดองลงในถาดใส่วัตถุดิบ เปิดสวิทช์ให้เครื่องทำงานข้อเหวี่ยงจะพาลูกกระทุ้งเคลื่อนที่เป็นจังหวะจากนั้นผลมะขามป้อมจะสามารถกลิ้งจากถาดลงไปยังช่องทางป้อนเข้าสู่ชุดกรีดได้ด้วยแรงโน้มถ่วงและการช่วยเกลี่ยเล็กน้อยจากแรงงานคนภายในถาดใส่วัตถุดิบ กลไกการทำงานไม่ซับซ้อนยุ่งยากสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้ง่ายไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการควบคุมทำให้เหมาะกับการใช้งานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือครัวเรือน โดยอัตราเร็วรอบที่เหมาะสมจากการออกแบบเท่ากับ 100 รอบต่อนาที ซึ่งจะใช้เวลาในการกรีดเท่ากับ 36 วินาทีต่อกิโลกรัม ทำให้มีกำลังการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 100 กิโลกรัม/ชั่วโมง การกรีดด้วยเครื่องมีต้นทุนค่าแรง 300 บาทต่อวัน และค่าไฟฟ้าไม่เกิน 10 บาทต่อวัน (มอเตอร์ขนาด 250 วัตต์ ทำงาน 8 ชั่วโมง ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 2 กิโลวัตต์ หรือ 2 หน่วยมิเตอร์) เฉลี่ยเป็นต้นทุนในการกรีดด้วยเครื่องเท่ากับ 0.40 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะประหยัดได้มากกว่าการกรีดด้วยมือเท่ากับ 2.10 บาทต่อกิโลกรัม







281 ครั้ง

Address
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อาคารบูรณมงคล (อาคาร 32) ชั้น 8
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย
(กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
035-709-097 หรือ 097-270-8866

ช่องทางการติดต่อ
rdi@rmutsb.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทรส.
rdi.rmutsb
rdi.rmutsb
LINE ID : @404unano

Copyright ©2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ