การวัดความหวานให้เกษตรกรชาวสวนเมล่อน

ทีมวิจัยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมช่วยแก้ปัญหา
การวัดความหวานให้เกษตรกรชาวสวนเมล่อน

เมล่อน พืชตระกูลแตงที่มีราคาค่อนข้างสูง ด้วยรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมรสหวาน และสีสันยังสวยงามน่ารับประทาน นิยมบริโภคสดเป็นผลไม้หรือนำไปทำเป็นของหวานและเครื่องดื่มได้หลากหลาย ด้วยเหตุนี้จึงมีเกษตรกรที่เปลี่ยนจากการปลูกพืชอย่างอื่นมาปลูกเมล่อนเนื่องจากเมล่อนมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น อยู่ที่ 70-90 วัน หลังจากเก็บเกี่ยวสามารถอยู่ในอุณหภูมิห้องได้นาน 1-2เดือน แต่ถ้าแช่ในที่เย็นสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 3 เดือน

ความหวานของเมล่อนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของราคาขายเมล่อน เครื่องวัดความหวานที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปจะต้องทำการสุ่มเมล่อนและผ่าตัวอย่างเมล่อนเพื่อตรวจวัดความหวานด้วยเครื่องมือวัดรีเฟล็กโตมิเตอร์ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายของผลเมล่อนและอาจมีความคลาดเคลื่อนได้สูง อาจารย์เอกชัย รัตนบรรลือ และทีมวิจัย จึงคิดค้นเครื่องตรวจวัดความหวานที่ไม่ทำลายผลโดยการใช้เทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้ โดยทุนสนับสนุนวิจัยร่วมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เครื่องวัดความหวานนี้ติดตั้งเซ็นเซอร์ทั้งหมด 3 ตำแหน่งทำมุมห่างกัน 120 องศา เพื่อให้การวัดมีความแม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือจะยิงสัญญาณอินฟาเรดไปที่ผลเมล่อนจากนั้นเซ็นเซอร์จะทำการวัดค่าการสะท้อนกลับของสัญญาณอินฟาเรด โดยตัวเซ็นเซอร์จะกำหนดให้รับช่วงความยาวคลื่นที่ได้ออกแบบไว้ ส่งผลให้ทราบปริมาณระดับความหวานตามปริมาณสัญญาณอินฟาเรดสะท้อนกลับที่เปลี่ยนไป และสามารถแสดงผลเป็นตัวเลขเพื่อบ่งบอกค่าปริมาณความหวานของผลเมล่อน โดยเครื่องตรวจวัดความหวานเมล่อนด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้สามารถพกพาไปในฟาร์มเมล่อนเพื่อตรวจวัดความหวานก่อนการเก็บเกี่ยว

โดยนำเครื่องมือวัดความหวานด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้ทดลองใช้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตหรือลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทดแทนการใช้เครื่องรีเฟล็คโตมิเตอร์ในการตรวจวัดค่าความหวานแบบทำลาย ซึ่งสามารถลดการสูญเสียผลเมล่อน คิดเป็นมูลค่าถึง472,320 บาทต่อปี

 

 

 

 

 

 







377 ครั้ง

Address
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อาคารบูรณมงคล (อาคาร 32) ชั้น 8
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย
(กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
035-709-097 หรือ 097-270-8866

ช่องทางการติดต่อ
rdi@rmutsb.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทรส.
rdi.rmutsb
rdi.rmutsb
LINE ID : @404unano

Copyright ©2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ