1111

 

 

 
  มทร.สวรรณภูมิ ช่วยเกษตรกรเลี้ยงปลาช่อน 2 ปี ปลดหนี้

    เกษตรกร หมู่บ้านห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นหมู่บ้านที่เลี้ยงปลาช่อนกันเป็นอาชีพหลัก หลังจากตลาดปลาช่อน ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ราคาปลาช่อนที่เคยราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 120-130 บาท ราคาตกลงไปเหลือ กิโลกรัมละ 60-70 บาท ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ก็ยังคงสูงอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-63 บาท เกษตรกรจึงประสบปัญหาการขาดทุน ละเกษตรกรรายหนึ่งที่มีบ่อเลี้ยงปลาช่อนมากถึง 7 บ่อ บนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ พอเจอปัญหาราคาปลาตก เมื่อปี 2561 เพียงแค่ปีเดียว เกษตรกรรายนี้เป็นหนี้กว่า 10 ล้านบาท

    รศ.ดร. เจษฎา อิสเหาะ จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และทีมงาน ได้เข้ามาช่วยเหลือผ่านการสนับสนุนด้านงบอุดหนุนรายการเงินอุดหนุนเพื่อการดำเนินการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรฺ วิจัยและนวัตกรรม

 
 

โดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ วิเคราะห์สถาพปัญหา และวางแผนในการลดต้นทุนการผลิตไว้ 2 แนวทาง คือ

     1. ลดต้นทุนทางด้านอาหาร โดยศึกษาว่า ควรจะต้องให้อาหารปลาให้เหมาะกับวัยและช่วงเวลา จนได้สูตรขึ้นมาว่าแต่ละวันเราต้องให้อาหารเท่าไหร่ ทำให้ต้นทุนค่าอาหารลดลงไปกว่า 30% ซึ่งเดิมต้นทุนค่าอาหารเลี้ยงปลาอยู่ที่ประมาณ 60% ของต้นทุนทั้งหมด

     2. การปรับเปลี่ยนการเลี้ยงปลาในรูปแบบการเลี้ยงจากบ่อดิน มาเป็นการเลี้ยงในกระชัง และติดตั้งเครื่องตีน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ถ้าออกซิเจนในน้ำมีปริมาณที่สูงกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้สภาพอากาศบริสุทธิ์ปลาก็จะกินอาหารได้ดี ซึ่งสังเกตได้จากถ้าผู้เลี้ยงให้อาหารในช่วงเวลาประมาณ 8-9 โมงเช้า รอให้แดดออก ปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้นปลาจะกินอาหารได้ดี และไม่มีอาหารเหลือทิ้งก้นบ่อ แต่เกษตรกรที่เลี้ยงทั่วไป มักให้อาหารปลาตอน 6 โมงเช้า ซึ่งค่าออกซิเจนในน้ำต่ำมาก ปลาไม่กินอาหารทำให้น้ำเน่าเสีย ปลาก็จะไม่โต และข้อดีของการใส่เครื่องตีน้ำ ยังทำให้น้ำหมุนเวียนตลอดเวลา ปลาก็จะได้ว่ายน้ำออกกำลัง ซึ่งช่วยให้ปลาแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ ไม่มีไขมัน พอนำมาทำอาหารจะได้ปลาที่รสชาติดี เนื้อแน่น หวานตามธรรมชาติ ไขมันน้อย ส่วนการปรับมาเลี้ยงปลาในกระชัง มีข้อดีกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อดิน อีกหลายประการ เช่น ช่วยแก้ปัญหาอาการปลาแก้มตอบ ซึ่งปลาช่อนถ้ามีอาการปลาแก้มตอบราคาขายปลาจะเหลือแค่กิโลกรัมละ 30-40 บาทเท่านั้น และข้อดีของการเลี้ยงอนุบาลปลาในกระชัง เดิมเพาะอนุบาลปลาในบ่อดิน ทำให้ได้ลูกปลาที่ไม่สมบูรณ์ และโอกาสการรอดของลูกปลาได้น้อย แต่พอนำเทคโนโลยี บวกกับการเพาะในกระชัง ทำให้เกษตรกรได้ลูกปลาที่สมบูรณ์ และได้จำนวนการรอดของลูกปลามากขึ้น ช่วยลดต้นทุนลูกปลาจากเดิมอยู่ที่ตัวละ 3 บาท เหลือต้นทุนลูกปลาตัวละ 2 บาท ซึ่งแต่ละบ่อต้องใช้ปลาหลักแสน หลักล้านตัว ประหยัดต้นทุนไปได้เป็นหลักล้านบาท

     หลังจากได้นำความรู้เทคนิคต่างๆ ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 ปี เกษตรกรที่มีปัญหาหนี้สินจากการเลี้ยงปลาช่อน ก็สามารถใช้หนี้ได้หมด และยังได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ได้เลี้ยงปลาแบบลดต้นทุนและได้ผลผลิตที่ดีอีกด้วย

 
   
 
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
นักวิจัย : รศ.ดร. เจษฎา อิสเหาะ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สถาบันวิจัยและพัฒนา
งานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
Tel.097 270 8866

     
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ



สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000


  097 270 8866
  rdi@rmutsb.ac.th
  www.facebook.com/rdi.rmutsb