1111

 

 

 

    

 

สร้างมูลค่าเพิ่มกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช


       เกษตรกรในพื้นที่ตำบลโพประจักษ์และตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี มีการเพาะปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช (Cavendish Banana, Musa spp. AAA group) โดยมีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่รวมกว่า 300 ไร่ ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices, GAP) สามารถผลิตกล้วยหอมเขียวได้ประมาณ 3-5 ตัน/สัปดาห์ มีการจำหน่ายพันธุ์กล้วย กล้วยดิบและสุก ซึ่งประสบปัญหาผลผลิตเกินความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ และมีกล้วยตกเกรดจำนวนมากไม่เป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้ง ราคาของกล้วยหอมสดประมาณ 3-5 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น ทำให้เกษตรกรมีภาวะหนี้สินครัวเรือน

       ผศ.ดร.วิจิตรา เหลียวตระกูล และทีมงาน จากคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ึงมีแนวคิดในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรมอาหารในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช โดยการแปรรูปเป็น "ผงกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช” พร้อมสร้างแบรนด์และช่องทางการตลาด

 
         การแปรรูปจะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับชุมชน และใช้โดมอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ชุมชนมีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ ผงหรือแป้งกล้วยหอมเขียวนี้สามารถนำกล้วยที่ตกเกรดหรือกล้วยขนาดเล็กมาแปรรูปได้ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นผงชงพร้อมดื่มผสมสมุนไพรต่างๆ เช่น ขมิ้น ขิงและกระชาย และเวเฟอร์แป้งกล้วยหอม ที่พัฒนามาจากทองม้วน บราวนี่เครกเกอร์จากแป้งกล้วยหอม เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่แพ้กลูเตน ขนมปังและคุ้กกี้จากแป้งกล้วยหอมเขียวทดแทนแป้งสาลี ผลิตภัณฑ์แปรรูปสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี ทำให้สร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตของชุมชน ส่งผลให้มีรายได้หมุนเวียนในชุมชน ตอบสนองความต้องการและสามารถ แก้ปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งมีการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์จริงในการทำงานร่วมกับชุมชน ได้ฝึกเป็นวิทยากรร่วม ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีการบูรณาการกับงานวิจัย ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถเผยแพร่ในวงวิชาการและขอยื่นจดอนุสิทธิบัตรได้

หัวหน้าโครงการนักวิจัย : ผศ.ดร.วิจิตรา เหลียวตระกูล และคณะ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สถาบันวิจัยและพัฒนา
งานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
Tel. 097 270 8866

 

 
         
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ



สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000


  097 270 8866
  rdi@rmutsb.ac.th
  www.facebook.com/rdi.rmutsb